การประหยัดพลังงานเครื่องอัดลม เครื่องปั๊มลม เครื่องอัดอากาศ

ในการประหยัดพลังงานสำหรับระบบอากาศอัด (Energy Saving for compressed Air System) ไม่ว่าจะเป็นเครื่องอัดลม (Air Compressor) เครื่องปั๊มลม เครื่องอัดอากาศ นั้นเราควรมีการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับระบบอัดอากาศนั้นๆก่อน

การสำรวจข้อมูลเบื้องต้นของเครื่องอัดอากาศ

ขั้นตอนแรกในการรวบรวมข้อมูล คือการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นของเครื่องอัดอากาศ เพื่อให้ทราบถึง Spec ของเครื่องที่มีการทำงาน และข้อมูลประสิทธิภาพจากผู้ผลิต ซึ่งควรมีรายละเอียดในเรื่องของ

  • ชนิดของเครื่องอัดอากาศที่ใช้งาน ว่าเป็นแบบ Certrifugal หรือ Rotary หรือแบบลูกสูบ เป็นต้น
  • ขนาดของเครื่องอัดอากาศ เช่น พิกัดกำลังไฟฟ้าของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ พิกัดอัตราการไหลของอากาศที่พิกัดความดันที่ผลิตได้ พิกัดแรงดัน
  • จำนวน และยี่ห้อของเครื่องอัดอากาศที่ใช้งาน

การสำรวจระบบและการเปิดใช้งานจริง

เพื่อให้ทราบสภาพและลักษณะการใช้งานและการเดินเครื่องอัดอากาศควรมีรายละเอียดในเรื่องของ

  • แผนผังการจัดวางเครื่องอัดอากาศ และระยะเวลาการใช้งานแต่ละเครื่อง
  • เวลาการเปิด – ปิด เครื่องอัดอากาศ (ชั่วโมงการทำงาน/วัน)

การตรวจวัดค่ากำลังไฟฟ้า

เพื่อให้ทราบค่ากำลังไฟฟ้าที่พัดลมใช้งานซึ่งควรมีรายละเอียดในเรื่องของ

  • แรงดันไฟฟ้า (Volt)
  • กระแสไฟฟ้า (Amps)
  • Power Factor
  • กำลังไฟฟ้่า (kW)

อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการตรวจวัด

contents-of-set

ประเภทและชนิดเครื่องมือวัดที่ใช้

ประเภทและชนิดของเครื่องมือวัดที่อาจใช้ในระบบพัดลมเป็นประจำ สรุปได้ดังนี้

ประเภทเครื่องมือวัดด้านไฟฟ้าทั่วไป ได้แก่

  1. เครื่องวัดแรงดันไฟฟ้าหรือโวลต์มิเตอร์
  2. เครื่องวัดกระแสไฟฟ้าแอมป์มิเตอร์
  3. เครื่องวัดกำลังไฟฟ้าหรือวัตต์มิเตอร์
  4. เครื่องตรวจวัดและบันทึกพลังไฟฟ้าแบบต่อเนื่อง
  5. เครื่องวัดตัวประกอบกำลังไฟฟ้าหรือเพาเวอร์แฟคเตอร์มิเตอร์ (P.F. meter) สำหรับทั้งระบบกระแสตรง (DC) และกระแสสลับ (AC)

sensor3

เครื่องมือวัดเหล่านี้ควรเป็นแบบพกพาได้ (Portable) และใช้งานง่าย เช่น เป็นประเภทหนีบ หรือ คล้องกับสายไฟ ซึ่งในปัจจุบันเครื่องมือวัดไฟฟ้าแบบพกพาจะสามารถวัดได้ทั้งแรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้ากำลังไฟฟ้าในเครื่องเดียวกัน

ประเภทเครื่องมือวัดด้านความร้อน ได้แก่

  1. เทอร์โมมิเตอร์ที่ใช้วัดอุณหภูมิบรรยากาศ อุณหภูมิผิวแบบสัมผัส
  2. เครื่องวัดความชื้นบรรยากาศ
  3. เครื่องวัดความเร็วและอัตราการไหลของก๊าซและของเหลว
  4. เครื่องมือวัดความดัน

แนวทางการอนุรักษ์พลังงานในระบบอากาศอัด

แนวทางการอนุรักษ์พลังงานในระบบอากาศอัดที่ใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม สามารถทำได้ดังต่อไปนี้

  1. ลดอุณหภูมิอากาศขาเข้าเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานความเย็น (Cooling Effect) ของอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน (Intercooler)
  2. ปรับตั้งความดันลมของเครื่องอัดอากาศให้เหมาะสมกับการใช้งาน
  3. เลือกใช้เครื่องอัดอากาศและระบบที่มีประสิทธิภาพสูง
  4. ป้องกันการรั่วของลมจากจุดต่างๆ ของระบบและจากตัวเครื่องอัดอากาศเอง
  5. บริกหารการใช้เครื่องอัดอากาศและระบบให้ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

เนื่องจากระบบอัดอากาศมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมหลายประเภท แต่ละโรงงานจำเป็นต้องเลือกเครื่องอัดอากาศให้เหมาะสมกับการใช้งาน หมั่นตรวจสอบการรั่วไหลของอากาศอัดอย่างสมํ่าเสมอ เข้าใจถึงหลักการทำงานตลอดจนการใช้อากาศอัดให้เหมาะสมกับเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ จะช่วยลดต้นทุนการผลิตลงได้ เกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและยังเป็นการอนุรักษ์พลังงานอีกด้วย

Social tagging: > > > >

ใส่ความเห็น